ยินดีต้อนรับอาจารย์ และเพื่อนๆ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ทุกคนนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ผลกระทบของภัยพิบัติต่อคนในชุมชน

ผลกระทบของภัยพิบัติต่อคนในชุมชน

1. ผู้ประสบภัย นอกจากจะเป็นผู้สูญเสียชีวิต คนรัก ทรัพย์สิน ที่พักอาศัย เครื่องมือทำมาหากินและได้รับบาดเจ็บทางร่างกายแล้ว   ยังมีภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นในตัว



2.  ครอบครัวและชุมชน
                วิถีชีวิตในชุมชนเป็นสิ่งที่พัฒนามานาน  ประกอบด้วยความรัก ความผูกพัน ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  เป็นวัฒนธรรม ประเพณีในการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในชุมชน   ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง  ถือว่าเป็นเกราะป้องที่สำคัญแก่คนในชุมชนนั้นๆ   ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเช่นกรณีสึนามิ  ใช้เวลาไม่นานแต่ทำลายวิถีชีวิตของชุมชนอย่างรวดเร็ว  ผู้คนกระจัดกระจาย  แยกตัว สับสน และต่างคนต้องเอาตัวเองให้อยู่รอด   วัฒนธรรม ประเพณี ของชุมชนถูกทำลายสิ้นในพริบตา  การพลัดพรากจากคนและของที่รัก  ขาดที่อยู่  สูญเสียทรัพย์สิน ตกงาน ขาดรายได้ ฯลฯ ส่งกระทบผลโดยตรงต่อตัวบุคคล ครอบครัวและสังคมอย่างรุนแรงและยาวนาน  ทำให้พบการหย่าร้างเพิ่มขึ้น  ในบ้านมีความก้าวร้าว คนหงุดหงิด ซึมเศร้า  เด็กถูกทำร้าย   เด็กขาดเรียน  ขาดทรัพยากรทุกรูปแบบและมักได้รับความช่วยเหลือที่ไม่ตรงตามความต้องการเฉพาะตัว
                เมื่อหน่วยช่วยเหลือที่หลั่งไหลเข้ามาช่วยในรูปแบบต่างๆกัน  ซึ่งอาจช่วยเหลือได้จริง  หรืออาจเป็นตัวสร้างความยุ่งยากให้กับคนในชุมชนเพิ่มขึ้น   เช่น มีระบบ วิธีการที่ซับซ้อนและไร้สมรรถภาพในการแก้ปัญหาที่มีอยู่  เช่น เรื่องที่พัก เครื่องมือทำกิน  พื้นที่สิทธิ์ตามกฎหมาย ฯลฯ  หรือพวกฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น   ทั้งหมดจะสร้างความเดือนร้อนซ้ำให้กับคนและชุมชน  หรือเรียกว่า  second disaster


3. ผู้ช่วยเหลือในชุมชน
                ในสภาพหลังเกิดภัยพิบัติ  จะมีผู้ตาย ผู้บาดเจ็บ ผู้หลงทาง ถูกพลัดพรากจากกันมากมาย  เป็นสภาพที่กดดันทางอารมณ์  สภาพแวดล้อมเกือบทุกแห่งในพื้นที่เกิดเหตุจะยุ่งเหยิง  ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ทำงานในชุมชนทำงานหนักเกินกำลัง  โดยที่ขาดระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ  จะทำให้เกิดความผิดพลาด ซ้ำซ้อน สับสน วุ่นวาย  รวมทั้งต้องเผชิญหน้ากับทีมช่วยเหลือที่หลากหลายรูปแบบที่หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่ และหลากหลายความต้องการที่เรียกร้องเอาจากคนในพื้นที่
                จึงพบว่าผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ เช่น เจ้าหน้าที่ ครู ประชาชนในจังหวัดต้องทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ  จิตใจหวั่นไหว ซึมเศร้า ท้อแท้ เครียด วิตกกังวล  ท้อแท้  พบพฤติกรรมแยกตัว ก้าวร้าว  รู้สึกไม่ปลอดภัย และมีปัญหาสุขภาพได้ง่าย  สมาธิและความสนใจต่อสิ่งต่างๆลดลง   หลายคนที่มีทัศนคติต่อวิธีการทำงานในด้านลบเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะคนในระบบราชการ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น