ยินดีต้อนรับอาจารย์ และเพื่อนๆ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ทุกคนนะคะ

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

1. วาตภัย และการป้องกัน

  วาตภัย
วาตภัยหมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางธรรรมชาติ คือ


1. พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น



3. ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียน ของลมภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้จะ ทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้ สำหรับในประเทศไทยมักจะเกิดกระแสลมวน ไกล้พื้นดินเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงใต้พื้นฐานเมฆ และจะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ และมีช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จึงทำให้เกิดความเสียหายได้ในบางพื้นที่

การเตรียมการป้องกันอันตรายจากวาตภัย
การเตรียมการและขณะเกิดวาตภัย
1. ติดตามข่าวและประกาศคำเตือนลักษณะอากาศร้ายจากกรมอุตุนิยมวิทยา
2. เตรียมวิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร ชนิดใช้ถ่านแบตเตอรี่ เพื่อติดตามข่าวในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง
3. ตัดกิ่งไม้ หรือรีดกิ่งไม้ที่อาจหักได้จากลมพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่จะหักมาทับบ้าน สายไฟฟ้า ต้นไม้ที่ตายยืนต้นควรจัดการโค่นลงเสีย
4. ตรวจเสาและสายไฟฟ้าทั้งในและนอกบริเวณบ้านให้เรียบร้อย ถ้าไม่แข็งแรงให้ยึดเหนี่ยวเสาไฟฟ้าให้มั่นคง
5. พักในอาคารที่มั่นคงตลอดเวลาขณะเกิดวาตภัย อย่าออกมาในที่โล่งแจ้ง เพราะต้นไม้และกิ่งไม้อาจหักโค่นลงมาทับได้ รวมทั้งสังกะสีและกระเบื้องจะปลิวตามลมมาทำอันตรายได้
6. ปิดประตู หน้าต่างทุกบาน รวมทั้งยึดประตูและหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรง ถ้าประตูหน้าต่างไม่แข็งแรง ให้ใช้ไม้ทาบตีตะปูตรึงปิดประตู หน้าต่างไว้จะปลอดภัยยิ่งขึ้น
7. ปิดกั้นช่องทางลมและช่องทางต่าง ๆ ที่ลมจะเข้าไปทำให้เกิดความเสียหาย
8. เตรียมตะเกียง ไฟฉาย และไม้ขีดไฟไว้ให้พร้อม ให้อยู่ใกล้มือ เมื่อเกิดไฟฟ้าดับจะได้หยิบใช้ได้อย่างทันท่วงที และน้ำสะอาด พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องหุ้มตุ้ม
9. เตรียมอาหารสำรอง อาหารกระป๋องไว้บ้างสำหรับการยังชีพในระยะเวลา 2-3 วัน
10. ดับเตาไฟให้เรียบร้อยและควรจะมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงไว้
11. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์
12. สิ่งของควรไว้ในที่ต่ำ เพราะอาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้
13. บรรดาเรือ แพ ให้ลงสมอยึดตรึงให้มั่นคงแข็งแรง
14. ถ้ามีรถยนต์ หรือพาหนะ ควรเตรียมไว้ให้พร้อมภายหลังพายุสงบอาจต้องนำผู้ป่วยไปส่ง โรงพยาบาล น้ำมันควรจะเติมให้เต็มถังอยู่ตลอดเวลา
15. เมื่อลมสงบแล้วต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง ถ้าพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรงเกิดขึ้นอีก จึงจะวางใจว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ เมื่อศูนย์กลางพายุผ่านไปแล้วจะต้องมีลมแรงและฝนตกหนักผ่านมาอีก ประมาณ 2 ชั่วโมง
16. ตั้งสติให้มั่นในการติดสินใจ ช่วยครอบครัวให้พ้นอันตรายในขณะวิกฤต โทรปรึกษานักพยากรณ์อากาศที่หมายเลขโทรศัพท์ 398-9830, 399-4012-3
เมื่อพายุสงบแล้ว
1. เมื่อมีผู้บาดเจ็บให้รีบช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้เคียงให้เร็ว ที่สุด
2. ต้นไม้ใกล้จะล้มให้รีบจัดการโค่นล้มลงเสีย มิฉะนั้นจะหักโค่นล้มภายหลัง
3. ถ้ามีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาดอย่าเข้าใกล้หรือแตะต้องเป็นอันขาด ทำเครื่องหมายแสดงอันตราย 4. แจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือช่างไฟฟ้าจัดการด่วน อย่าแตะโลหะที่เป็นสื่อไฟฟ้า
4. เมื่อปรากฎว่าท่อประปาแตกที่ใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาแก้ไขโดยด่วน
5. อย่าเพิ่งใช้น้ำประปา เพราะน้ำอาจไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากท่อแตกหรือน้ำท่วม ถ้าใช้น้ำประปาขณะนั้นดื่มอาจจะเกิดโรคได้ ให้ใช้น้ำที่กักตุนก่อนเกิดเหตุดื่มแทน
6. ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การควบคุมโรคติดต่อที่อาจเกิดระบาดได้
การทำน้ำให้สะอาด เช่น ใช้สารส้ม และใช้ปูนคลอรีน
การกำจัดอุจจาระ โดยใช้ปูนขาว หรือน้ำยาไลโซล 5% กำจัดกลิ่นและฆ่าเชื้อโรค
กำจัดพาหนะนำโรค เช่น ยุง และแมลงวัน โดยใช้ฆ่าแมลง

โรคต่าง ๆ ที่มักเกิดหลังวาตภัย
โรคระบบหายใจ เช่น หวัด
โรคติดเชื้อ และปรสิต เช่น การอักเสบมีหนอง โรคฉี่หนู เป็นต้น
โรคผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดน้ำ กลาก เป็นต้น
โรคระบบทางเดินทางอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง
ภาวะทางจิต เช่น ความเครียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น