ยินดีต้อนรับอาจารย์ และเพื่อนๆ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี ทุกคนนะคะ

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

5. คลื่นพายุซัดฝั่ง และการป้องกัน

 5. คลื่นพายุซัดฝั่ง  คือคลื่นซัดชายฝั่งขนาดใหญ่อันเนื่องมาจากความแรงของลมที่เกิดขึ้นจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าหาฝั่ง โดยปกติมีความรุนแรงมากในรัศมีประมาณ 100 กิโลเมตร แต่บางครั้งอาจเกิดได้เมื่อศูนย์กลางพายุอยู่ห่างมากกว่า 100 กิโลเมตร ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพายุ และสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตลอดจนบางครั้งยังได้รับอิทธิพล เสริมความรุนแรงจากลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น



การเตรียมการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นซัดฝั่งควรปฏิบัติดังนี้ 
- สร้างแนวเขื่อนกั้นคลื่นพายุซัดฝั่ง ให้มีความแข็งแรงและสูงพอสมควร โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยมาก ๆ ต่อความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
สิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่งควรเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และถาวร
- ให้คำแนะนำความรู้เกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน และคลื่นพายุซัดฝั่งให้กับประชาชนที่อาศัยประกอบกิจการอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ตลอดทั้งแนวภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคตะวันออก รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป
- เผยแพร่ความรู้ไปยังนักท่องเที่ยว โดยผ่านหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และโรงแรม
ต่าง ๆ ตามสถานที่ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล
- ติดตามข่าวอากาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน และเตือนภัยคลื่นพายุซัดฝั่งจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลเกิดพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้และอ่าวไทย
- ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล และหมู่บ้านชาวประมง ควรเพิ่มมาตรการเสริมความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูกาลเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง
- นำเรือไปหลบคลื่นในบริเวณที่อับลมหรือที่ปลอดภัย
- เคลื่อนย้ายทรัพย์สินไปอยู่ในที่ที่ห่างจากฝั่งทะเลพอสมควร
- มีการประสานงานติดต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยวกับกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงของคลื่นพายุซัดฝั่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อวางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวและมาตรการป้องกันให้เหมาะสม
- มีมาตรการและแผนในการป้องกันและลดภัยพิบัติจากคลื่นพายุซัดฝั่ง อันหมาะสมทั้งระยะยาวและระยะสั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น