ปฏิกิริยาของผู้ประสบภัยหลังเกิดภัยพิบัติ
นอกจากจะเป็นผู้สูญเสียชีวิต คนรัก ทรัพย์สิน ที่พักอาศัย เครื่องมือทำมาหากินและได้รับบาดเจ็บทางร่างกายแล้ว ยังมีภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นในตัวผู้ประสบภัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ตั้งแต่ตั้งแต่หลังเกิดเหตุการณ์จนถึง 14 วันแรก ระยะแรกจะเป็นช่วงที่คนทั่วไปอยู่ในภาวะตื่นตระหนก ตกใจ เฉยเมย ไม่ยินดียินร้าย มึนชา เหมือนอยู่ในความฝัน ไม่เชื่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่าสามารถทำลายชีวิตและทรัพย์สินมากมาย จากนั้นจะเป็นช่วงที่หลายคนร่วมกันทำงานเป็นอย่างดี ( Heronic phase) ให้ความใส่ใจและเต็มใจในการช่วยชีวิต ช่วยเหลือคนอื่นและดูแลทรัพย์สินของตนเอง เป็นผลให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมากและตื่นตัว
ระยะที่ 2 อยู่ในช่วง 2 – 6 สัปดาห์ ผู้ประสบภัยได้รับการดูแลอย่างดีจากรัฐบาลและองค์กรเอกชนมากมายทั้งตรงและไม่ตรงกับความต้องการ แต่ก็ทำให้มองเห็นโอกาสในการสร้างชีวิตและสร้างฐานะขึ้นมาใหม่ ( honeymoon phase) มีจินตนาการในการสร้างอนาคตใหม่อย่างสวยงามถึงแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่สูญเสียมากมาย
ระยะที่ 3 เป็นภาวะที่มองเห็นตามความเป็นจริง เกิดขึ้นในช่วงกลางมีระยะเวลานานตั้งแต่ 2 เดือน – ปีหรือนานกว่า ผู้ประสบภัยจะมองเห็นว่าความช่วยเหลือและการกลับคืนสภาพแบบเดิมล่าช้า เกิดความล้มเหลวซ้ำซาก และเริ่มมองเห็นความเป็นจริงในการสร้างตัวเองใหม่ในวิถีทางที่พึ่งตนเองมากที่สุด ค้นพบความเข้มแข็งในตนเอง หลุดจากภาพลวงตา และความหวังที่จะพึ่งคนอื่น
ระยะที่ 4 เป็นภาวะที่กลับมาสู่ความปกติสุขอีกครั้ง ทั้งในส่วนของบุคคลและชุมชน ระยะนี้ใช้เวลาหลายปี
จากทั้ง 4 ระยะที่กล่าวมา ผู้ประสบภัยต้องทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ จิตใจหวั่นไหว ซึมเศร้า ท้อแท้ เครียด วิตกกังวล ท้อแท้ พบพฤติกรรมแยกตัว ก้าวร้าว รู้สึกไม่ปลอดภัย และมีปัญหาสุขภาพได้ง่าย สมาธิและความสนใจต่อคนรอบข้างลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นทีอยู่ในบ้านเดียวกันได้ง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น