6. แผ่นดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบ ของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น
1. แนวแผ่นดินไหวของโลก ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ในกรณีของประเทศไทย แนว แผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศพม่า
2. แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ในกรณีประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
3. บริเวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น เหมือง เขื่อน บ่อน้ำมัน เป็นต้น
มาตราวัดแผ่นดินไหว
- มาตราเมอร์คัลลิดัดแปร (Modified Mercalli Scale) เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวที่ใช้ความรู้สึกของมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งขึ้นกับผลของการไหวสะเทือนที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
- มาตราริคเตอร์ (Richter Scale) เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวที่ใช้ความรู้สึกของคนและความกระทบกระเทือนต่ออาคาร
- มาตราเมอร์คัลลิดัดแปร (Modified Mercalli Scale) เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวที่ใช้ความรู้สึกของมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งขึ้นกับผลของการไหวสะเทือนที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง
- มาตราริคเตอร์ (Richter Scale) เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวที่ใช้ความรู้สึกของคนและความกระทบกระเทือนต่ออาคาร
ขนาดแผ่นดินไหว | ผลกระทบ | จำนวนครั้ง/ปี |
ริกเตอร์ | รัศมีและความลึกไม่เกิน | รอบโลก |
3.5-4.2 | บางคนรู้สึกสั้นสะเทือน | 30000 |
4.3-4.8 | หลายคนรู้สึกสั่นสะเทือน | 4800 |
4.9-5.4 | เกือบทุกคนรู้สึกสั่นสะเทือน | 1400 |
5.5-6.1 | อาคารเสียหายเล็กน้อย | 500 |
6.2-6.9 | อาคารเสียหายปานกลาง | 100 |
7.0-7.3 | อาคารเสียหายรุนแรง | 15 |
ตั้งแต่ 7.4 | อาคารเสียหายรุนแรง | 4 |
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
1. เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
2. จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือแพทย์
3.จำตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้าเพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า
4.ยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงานและในสถานที่ศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกแยกโคลงเคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
ขณะเกิดแผ่นดินไหว
1. ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
2.ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป
3.ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหายให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต
4.ออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น